วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติคอมพิวเตอร์

ประวัติบ้านท่าขอนยาง

ตัวอย่างประโยคของภาษาย้อ บ้านท่าขอนยาง
     คำที่ประสมด้วย สระ ใ- บางคำจะออกเสียงเป็นสระเออ เ – อ คล้ายคลึงกับภาษาภูไท เช่น
                                      หัวใจ ออกเสียงเป็น หัวเจ๋อ
                                        ใผ           ”            เผอ
                                      น้ำใส          ”          น้ำเสอ
             

                              ภาษาถิ่นอีสาน                   ภาษาย้อ

                                      ใผมา ( ใครมา )                         เผอ มา
                                     เฮ็ด จัง ได๋ ( ทำอย่างไร )            เฮ็ด จัง เลอ
                                     มา แต่ ใส ( มาจากไหน )            มา แต่ กะ เลอ

          เป็นที่น่าสังเกตว่า คำท้ายประโยคที่แสดงเป็นคำถามหลายคำมีความแตกต่างจากภาษาถิ่นอีสานโดยทั่วไป เช่น


                              ภาษาถิ่นอีสาน  
                     ภาษาย้อ
                                    เจ้า เป็น หญัง ( คุณเป็นใคร )      เจ้า เป็น เตอ
                                    ใผ มา หญัง ( ใครมาอะไร )         เผอ มา เบอ เตอ
                                    เจ้า ไป หญัง ( จะไปไหน )          เจ้า ไป เซอ
                                    เอาผ้าขาวม้ามาให้แหน่               เอาผ้าขาวม้ามาเฮ้อแหนะ
                                   ( เอาผ้าขาวม้ามาให้หน่อย )

          คำโบราณบางคำใช้ร่วมกันกับคำโบราณในภาษาถิ่นอีสาน เช่นภาษาถิ่นอีสาน ภาษาย้อ
                                      กล้วยอิออง ( กล้วยน้ำว้า )           กล้วยอิออง
                                      หมากหมี้    ( ขนุน )                   หมากหมี้

            แต่ยังมีบางคำที่ภาษาถิ่นญ้อเรียกแตกต่างจากภาษาถิ่นอีสาน เช่น
                                      ข้าวโพด (ข้าวโพด ) หมากลี หรือหมากสาลี
                                      สุ่มไก่ ( สุ่มไก่ ) กะยาง กวมไก่

               เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาถิ่นอีสานโดยทั่วไป กับเสียงภาษาถิ่นย้อ สระ ใอ เป็นสระเออ มีลักษณะเหมือนภาษาถิ่นของชาวภูไท




ภาษาในท้องถิ่น
ภาษาที่ใช้ในชุมชนบ้านท่าขอนยาง
     ความเป็นมาของชาวญ้อ
             เดิมอยู่ที่เมืองหงสา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว มีพรมแดนติดต่อกับจีน พุทธศักราช 2341 สมัยรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวญ้อส่วนหนึ่งได้อพยพมาตามแม่น้ำโขง มาตั้งเมืองไชยบุรี อยู่บริเวณปากน้ำสงคราม จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวญ้อเมืองชัยบุรีถูกเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปอยู่เมืองปุนเลง เมืองคำม่วนและเมืองคำเกิด ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2375 เจ้าพระยาบดินทร์เดชา แม่ทัพไทยได้กวาดต้อนชาวญ้อจากเมืองปุนเลง เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด กลับมาอยู่ในภาคอีสาน ที่เมืองอุเทน จังหวัดนครพนมจากจดหมายเหตุรัชการที่ 3 จุลศักราช 1200 กล่าวว่า เมื่อครั้งแม่ทัพไทย พระยาสุนทรราชวงศา พระยาประเทศธานี ได้นำตัวท้าวคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด พร้อมด้วยเพี้ยไชยสงคราม เพี้ยวงศ์ปัญญา และเพี้ยเมืองขวา ของเมืองคำม่วน กับท้าวเพี้ยเมืองต่างๆลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่กรุงเทพฯ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้ครัวคำก้อน เมืองคำเกิด 1,000 คนเศษ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าขอนยาง ครัวเมืองขวา เมืองคำม่วน 4,000 คนเศษ ไปตั้งอยู่ที่บ้านแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ เกลี้ยกล่อมผู้คนจากเมืองคำม่วน เมืองคำเกิด ให้อพยพม่าอยู่ในเขตไทยมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ไชยบุรี 133 เมืองท่าอุเทน 30 โดยให้เลือกอยู่ตามใจสมัคร ชาวญ้อ เดิมอยู่ที่ไหนและมีเชื้อสายติดต่อมาจากชาติใดไม่ปรากฏ เมื่อขุนบรมชาวเวียงจันทร์ได้ปลีกตัวออกเป็นก๊กขึ้นที่เมืองคำเกิด ซึ่งเป็นพวกญ้อ ขึ้นอยู่ในความปกครอง ของเมืองเวียงจันทร์ ในพุทธศักราช 2379 เมืองเวียงจันทร์เสียแก่กรุงเทพฯ รัชกาลที่ 3ทรงรับไว้อยู่ใต้ร่ม
            เมื่อพุทธศักราช 2382 ได้อพยพราษฎรจากเมืองคำเกิfมาตั้งที่บ้านท่าขอนยางต่อมาในปีพุทธศักราช 2427 พระยาสุวรรณภักดี ( ผู้บุตร ) พาไพร่พลประมาณ 300คนอพยพไปทำราชการขึ้นกับเมืองท่าอุเทนในสมัยปัจจุบันนี้ชาวญ้อกระจัดกระจายอยู่ในหลายท้องที่ทั่วประเทศไทยเฉพาะภาคอีสานมีชาวญ้ออยู่ในท้องที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย ได้แก่ บ้านท่าขอนยาง บ้านหนองขอน บ้านยาง
บ้านส้มป่อย บ้านกุดน้ำใส

ประวัติมหาสารคาม

มหาสารคามได้รับการแต่งตั้งเป็นเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2408 แต่ก่อนจะตั้งเป็นเมืองมหาสารคามนั้น บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์มานาน บางยุค บางสมัยก็รุ่งเรือง บางยุคสมัยก็เสื่อมโทรม ตามบันทึกของหลวงอภิสิทธิ์สารคาม (บุดดี) ตลอดจนประวัติศาสตร์ภาคอีสานและเมืองมหาสารคาม ของ บุญช่วย อัตถากร ระบุว่า ท้าวมหาชัย (กวด) พาผู้คนออกจากเมืองร้อยเอ็ดมาทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,000 เส้น จึงหยุดตั้งอยู่บริเวณที่ดอน แต่ราษฎรนิยมเรียกว่า “วัดข้าวฮ้าว” อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน เห็นว่าขาดแคลนแหล่งน้ำ จึงย้ายมาตั้งระหว่างกุดยางใหญ่กับหนองท่ม ซึ่งเป็นที่ชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่บ้างแล้ว คือ บ้านจาน ประกอบกับห่างออกไปเล็กน้อยก็เป็นห้วยตะคาง จึงนับว่าเป็นชัยภูมิที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์ เมืองมหาสารคามเมื่อแรกตั้งอยู่ในความดูแลบังคับบัญชาของพระขัติยวงษา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นผู้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับพระราชทาน “บ้านลาด กุดยางใหญ่” เป็นเมือง ของท้าวมหาชัย (กวด) เป็นเจ้าเมือง
ราชสำนักได้มีสารตรามาถึงพระขัติยวงษา (จัน) ลงวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช 1227 ซึ่งตรงกับวันที่ 22 สิงหาคม 2408 ดังข้อความตอนหนึ่งว่า
จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสว่า ซึ่งเจ้าพระยาภูธราภัย ฯ พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมาไล่เลียงแลทำแผนที่เมืองจะตั้งใหม่ เห็นการไม่เกี่ยวข้องแก่บ้าน แก่เมืองใดแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ขนานนามบ้านลาดกุดยางไย เป็นเมืองมหาษาร ตามพระราชทานนามสัญญาบัติ ประทับพระราชลัญจกอร ตั้งท้าวมหาไชยเป็นที่พระเจริญราชเดช เจ้าเมือง ทำราชการขึ้นแก่เมืองร้อยเอ็ด ให้พระราชทานท้าวมหาไชย ผู้เป็นที่พระเจริญราชเดชเจ้าเมืองมหาสารคาม
เมืองมหาสารคาม นับเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมของชาวอีสาน มีชุมชนโบราณมากมาย ไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านเชียงเหียน หมู่บ้านปั้นหม้อของชาวบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคามแหล่งโบราณสถาน และสถานที่สำคัญทางศาสนาก็มี พระธาตุนาดูน กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน กู่บ้านแดง อำเภอวาปีปทุม ปรางค์กู่ ตำบลเขวา อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่น่ามาศึกษาหาความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันจังหวัดมหาสารคามเป็นเมือง ตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวเมืองตักสิลา เมืองการศึกษาของชาวอีสาน มีทั้ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอุดมศึกษาของภาคเอกชน ซึ่งในช่วงเปิดภาคเรียนจังหวัดมหาสารคาม จะครึกครื้นไปด้วยนักศึกษาจากต่างถิ่นที่มาศึกษาหาความรู้จากสถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม