วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติบ้านท่าขอนยาง

ตัวอย่างประโยคของภาษาย้อ บ้านท่าขอนยาง
     คำที่ประสมด้วย สระ ใ- บางคำจะออกเสียงเป็นสระเออ เ – อ คล้ายคลึงกับภาษาภูไท เช่น
                                      หัวใจ ออกเสียงเป็น หัวเจ๋อ
                                        ใผ           ”            เผอ
                                      น้ำใส          ”          น้ำเสอ
             

                              ภาษาถิ่นอีสาน                   ภาษาย้อ

                                      ใผมา ( ใครมา )                         เผอ มา
                                     เฮ็ด จัง ได๋ ( ทำอย่างไร )            เฮ็ด จัง เลอ
                                     มา แต่ ใส ( มาจากไหน )            มา แต่ กะ เลอ

          เป็นที่น่าสังเกตว่า คำท้ายประโยคที่แสดงเป็นคำถามหลายคำมีความแตกต่างจากภาษาถิ่นอีสานโดยทั่วไป เช่น


                              ภาษาถิ่นอีสาน  
                     ภาษาย้อ
                                    เจ้า เป็น หญัง ( คุณเป็นใคร )      เจ้า เป็น เตอ
                                    ใผ มา หญัง ( ใครมาอะไร )         เผอ มา เบอ เตอ
                                    เจ้า ไป หญัง ( จะไปไหน )          เจ้า ไป เซอ
                                    เอาผ้าขาวม้ามาให้แหน่               เอาผ้าขาวม้ามาเฮ้อแหนะ
                                   ( เอาผ้าขาวม้ามาให้หน่อย )

          คำโบราณบางคำใช้ร่วมกันกับคำโบราณในภาษาถิ่นอีสาน เช่นภาษาถิ่นอีสาน ภาษาย้อ
                                      กล้วยอิออง ( กล้วยน้ำว้า )           กล้วยอิออง
                                      หมากหมี้    ( ขนุน )                   หมากหมี้

            แต่ยังมีบางคำที่ภาษาถิ่นญ้อเรียกแตกต่างจากภาษาถิ่นอีสาน เช่น
                                      ข้าวโพด (ข้าวโพด ) หมากลี หรือหมากสาลี
                                      สุ่มไก่ ( สุ่มไก่ ) กะยาง กวมไก่

               เป็นที่น่าสังเกตว่า เสียงปฏิภาคระหว่างภาษาถิ่นอีสานโดยทั่วไป กับเสียงภาษาถิ่นย้อ สระ ใอ เป็นสระเออ มีลักษณะเหมือนภาษาถิ่นของชาวภูไท




ภาษาในท้องถิ่น
ภาษาที่ใช้ในชุมชนบ้านท่าขอนยาง
     ความเป็นมาของชาวญ้อ
             เดิมอยู่ที่เมืองหงสา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว มีพรมแดนติดต่อกับจีน พุทธศักราช 2341 สมัยรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวญ้อส่วนหนึ่งได้อพยพมาตามแม่น้ำโขง มาตั้งเมืองไชยบุรี อยู่บริเวณปากน้ำสงคราม จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวญ้อเมืองชัยบุรีถูกเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปอยู่เมืองปุนเลง เมืองคำม่วนและเมืองคำเกิด ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2375 เจ้าพระยาบดินทร์เดชา แม่ทัพไทยได้กวาดต้อนชาวญ้อจากเมืองปุนเลง เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด กลับมาอยู่ในภาคอีสาน ที่เมืองอุเทน จังหวัดนครพนมจากจดหมายเหตุรัชการที่ 3 จุลศักราช 1200 กล่าวว่า เมื่อครั้งแม่ทัพไทย พระยาสุนทรราชวงศา พระยาประเทศธานี ได้นำตัวท้าวคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด พร้อมด้วยเพี้ยไชยสงคราม เพี้ยวงศ์ปัญญา และเพี้ยเมืองขวา ของเมืองคำม่วน กับท้าวเพี้ยเมืองต่างๆลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่กรุงเทพฯ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้ครัวคำก้อน เมืองคำเกิด 1,000 คนเศษ ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าขอนยาง ครัวเมืองขวา เมืองคำม่วน 4,000 คนเศษ ไปตั้งอยู่ที่บ้านแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ เกลี้ยกล่อมผู้คนจากเมืองคำม่วน เมืองคำเกิด ให้อพยพม่าอยู่ในเขตไทยมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ไชยบุรี 133 เมืองท่าอุเทน 30 โดยให้เลือกอยู่ตามใจสมัคร ชาวญ้อ เดิมอยู่ที่ไหนและมีเชื้อสายติดต่อมาจากชาติใดไม่ปรากฏ เมื่อขุนบรมชาวเวียงจันทร์ได้ปลีกตัวออกเป็นก๊กขึ้นที่เมืองคำเกิด ซึ่งเป็นพวกญ้อ ขึ้นอยู่ในความปกครอง ของเมืองเวียงจันทร์ ในพุทธศักราช 2379 เมืองเวียงจันทร์เสียแก่กรุงเทพฯ รัชกาลที่ 3ทรงรับไว้อยู่ใต้ร่ม
            เมื่อพุทธศักราช 2382 ได้อพยพราษฎรจากเมืองคำเกิfมาตั้งที่บ้านท่าขอนยางต่อมาในปีพุทธศักราช 2427 พระยาสุวรรณภักดี ( ผู้บุตร ) พาไพร่พลประมาณ 300คนอพยพไปทำราชการขึ้นกับเมืองท่าอุเทนในสมัยปัจจุบันนี้ชาวญ้อกระจัดกระจายอยู่ในหลายท้องที่ทั่วประเทศไทยเฉพาะภาคอีสานมีชาวญ้ออยู่ในท้องที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอกันทรวิชัย ได้แก่ บ้านท่าขอนยาง บ้านหนองขอน บ้านยาง
บ้านส้มป่อย บ้านกุดน้ำใส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น